วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

พาดหัวยั่วให้คลิก / Clickbait (2020)

 


พาดหัวยั่วให้คลิก / Clickbait (2020)

บทภาพยนตร์...Rida Zahra / ดนตรี... Arsalan Hasan-Abu Bakar Zahid / ถ่ายภาพ…Osama Ali Khan-Luqman /ลำดับภาพ…Fahad Zafar Hussain / ผู้อำนวยการสร้าง... Ghania Asad-Sidrah Jamil-Sami Rehman-Rida Zahra / ผู้กำกับภาพยนตร์Sami Ur Rehman-Rida Zahra

ดารานำแสดง... Rubina Alavi-Sami Ur Rehman-Hani Taha-Rida Zahra


         สองยูทูบเบอร์ซาร่า(Rida Zahra) กับ อาซาด(Sami Ur Rehman) ต้องมาแข่งกันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งสูงสุดในการทำ VLOG ทั้งสองต้องทำ VLOG ระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในประเทศและเมืองเดียวกัน  การแข่งขันจึงดุเดือดมากเมื่อทั้งคู่พยายามเอาชนะกันอย่างบ้าคลั่ง แต่สุดท้ายทั้งคู่ลงเอยด้วยการทำ VLOG ร่วมกัน เพราะเมื่อทั้งสองเจอกันทุกวัน ใกล้ชิดกันทุกวันจากแข่งขันก็พัฒนามาชอบกันเกิดความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างกัน



         ความหมายง่ายๆของ Vlog คือการบันทึกเรื่องราวโดยเล่าในรูปแบบวิดีโอ คนทำ Vlog เรียกว่า Vlogger หรือ Youtuber เพราะส่วนใหญ่ทำอยู่บน Youtube   คำว่า Vlog เป็นรวมกันระหว่างคำว่า Video + Log หรือ Video + Blog  จึงเป็นการเล่าเรื่องราวหรือนำเสนอเรื่องต่าง ๆที่เป็นสาระ ความรู้ บันเทิง การรีวิว และอื่น ๆ ในรูปแบบของวีดีโอ  ช่องทางที่ต้องใช้ก็คือ ยูทูป หรือโซเชียลมีเดียใน รูปแบบการทำ Live สดต่าง ๆ นั่นเอง










































โลเกชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

         เป็นภาพยนตร์แนวสนุกสนานพ่อแง่แม่งอนจากปากีสถานใช้ภาษาอูรดู เดินเรื่องแบบสารคดีท่องเที่ยวผสมการแสดง ทีมงานทีมเล็กๆ เดินทางมาถ่ายทำที่ประเทศไทย ทั้งที่กรุงเทพฯ ภูเก็ต และกระบี่ ที่ไหนบ้างเขามีการปักหมุดให้เห็น ทีมงานทุกคนทำงานกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเป็นเวลา 9 วันหลังพ้นการกักตัวโควิด ถ่ายทำติดต่อกันโดยแทบไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย ส่งผลให้ทีมงาน (โดยเฉพาะผู้กำกับ) ต้องทะเลาะกันบ่อยครั้ง



























       ภาพยนตร์อาจเน้นเรื่องโรแมนติก หมานๆ และให้คนดูได้แอบยิ้มม่วนๆ ก็ไม่น่าจะมีอะไรมากกว่านี้ ดาราไม่ว่าพระนางหรือสมทบไม่เกาหลี หล่อเท่กับใครชาติไหนเขาเลย เขาใช้ดาราหน้าตาบ้านๆมาแสดง แต่พวกเขามีเสน่ห์ให้ชวนดู


       คลิกเบต หรือ พาดหัวยั่วให้คลิก (อังกฤษ: clickbait) เป็นคำเหยียด หมายถึงเนื้อหาเว็บที่มุ่งสร้างผลประโยชน์จากการโฆษณาออนไลน์ โดยเฉพาะเมื่อไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือความถูกต้องของข้อมูล แต่อาศัยวิธีพาดหัวแบบเร้าใจเพื่อดึงดูดให้คลิกเข้าไปชมทันทีและเพื่อเชิญชวนให้ส่งเนื้อหานั้นต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ มักอาศัยประโยชน์จากความสงสัย โดยใช้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ล่อให้ผู้อ่านสงสัย และขจัดความสงสัยนั้นไม่ได้(คล้ายๆพาดหัวข่าว นสพ.) จึงต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ ให้หายสงสัย ไม่งั้นคงนอนหลับไม่ลง

ขอขอบคุณ-IMDB-google

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น