วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

37วิที่ตาย กับลมหายใจที่ยังเหลือ / 37 Seconds (2519)

 


37วิที่ตาย กับลมหายใจที่ยังเหลือ  / 37 Seconds (2519)

บทภาพยนตร์Hikari /ดนตรี…ASKA /ถ่ายภาพ…Stephen Blahut-Tomoo Ezaki /ลำดับภาพThomas A. Krueger / ผู้อำนวยการสร้าง... Peter Maestrey-Shin Yamaguchi / ผู้กำกับภาพยนตร์ Hikari

ดารานำแสดงEita Okuno-Makiko Watanabe-Nanami Kawakami


             ยูมะ(เมอิ คายามะ) อยู่กับแม่ (มิตสุสุ คันโนะ) โดยแม่จะดูแลเธอทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ทั้งการอาบน้ำแต่งตัวให้ ซึ่งดูเหมือนแม่จะมีความสุขที่ได้ทำสิ่งเหล่านี้ แต่ยูมะอยากทำทุกอย่างด้วยตัวเองเช่นการนั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้าไปส่งต้นฉบับการ์ตูนมังงะที่เธอวาดให้กับซากายะ (มิโดริ ฮากิวาระ)  การได้ออกนอกบ้านทำให้เธอพบเจอผู้คนอันเป็นวัตถุดิบสำหรับงานวาดเขียนของเธอ ซึ่งซากายะกลับเอางานของยูมะไปแอบอ้างว่าเป็นงานของ  เธอจึงนำผลงานไปเสนอที่สำนักพิมพ์อื่น บรรณาธิการสาว (ยูกะ อิทายะ) ได้ดูผลงานของยูมะแล้วแนะนำให้เธอเขียนเรื่องเกี่ยวกับเซ็กซ์ (Sex) และให้ยูมะหาประสบการณ์ตรงเพื่อนำมาสร้างผลงาน   ยูมะไปที่ย่านโคมแดง Kabukicho เธอได้พบกับหญิงบริการ (มาโกโกะ วาตานาเบะ) และคนขับรถ (ชุนซุเกะ ไดโตะ) ที่มีน้ำใจให้ความช่วยเหลือเธอหลายอย่างรวมทั้งเป็นเพื่อนเดินทางมาเมืองไทยทำให้เธอได้รู้เรื่องราวชีวิตของตัวเองและครอบครัวอย่างลึกซึ้ง




             37 Seconds ผลงานกำกับฯ เรื่องแรกของผู้กำกับฯ ที่ใช้ชื่อสั้นๆ ว่า “ฮิคาริ” มีชื่อจริงว่า มิตสุโยะ มิยาซากิ สร้างชื่อจากหนังสั้นเรื่อง Tsuyako (2011) เป็นภาพยนตร์ แนวดราม่า ญี่ปุ่นที่เล่าเรื่องของยูมะ ทาคาดะ รับบทโดยเมอิ คายามะ หญิงสาวเป็นผู้พิการจริงๆ) เธอป่วยเป็นโรคสมองพิการเพราะตอนเด็กๆหัวใจเธอหยุดเต้นไป 37 วินาที จนสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว และการเคลื่อนไหวร่างกายเธอจึงต้องนั่งวิลแชร์ไปตลอดชีวิต





            ยูมะเพียงพิการทางร่างกาย แต่สมองส่วนความคิดไม่ได้โง่เธอพิการเพียงร่างกาย แต่หัวใจเข้มแข็งเกินร้อย ให้เธอได้เรียนรู้และเข้าใจผู้คนบนโลกใบนี้มากขึ้น  “คนที่รู้จักดีกลับไม่หวังดีหรือเชื่อใจไม่ได้แต่คนที่แค่พบกันครั้งแรกในสถานที่อโคจร กลับให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ”











           ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้สูงอายุเพราะคนญี่ปุ่นสุขภาพดีจึงมีอายุยืนรัฐบาลก็สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ ด้านผู้พิการก็ไม่น้อยหน้า ไม่ว่าจะเป็นทางเท้า, ลิฟต์ แม้กระทั่งรถเมล์รถไฟฟ้า ก็มีทางราบและสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อผู้พิการในทุกรูปแบบ









           ชีวิตมนุษย์สั้นแค่พริบตา บางครั้งฉีนคิดว่า ฉันเป็นแค่หนึ่งในการทดลองของพวกเขา เหมือนกับโครงงานวิทยาศาสตร์...ยูมะกล่าวไว้ในฉากหนึ่ง น่าฟังน่าคิด



            ภาพยนตร์มีฉากในประเทศไทยเล็กๆน้อยๆ ทำให้ยูมะได้เปิดโลกกว้าง ออกมาใช้ชีวิตด้วยตนเองโดยที่ไม่มีแม่มาจัดให้ ใครที่ได้ชมแล้วน่าจะได้แรงฮึดในการสู้ชีวิตต่อไปมากมาย  อย่ายอมแพ้...โดยที่ยังไม่ได้ลงแข่ง

ขอบคุณ-IMDB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น