ส่องกล้องมองสยาม / Siamese Society (๒๔๖๓) ขาว-ดำ / เงียบ
ผู้สร้าง-ผู้ถ่ายภาพ...Richard
Berton Holmes
ภาพยนตร์บันทึกภาพเมืองสยามของ ริชาร์ด เบอร์ตัน โฮล์ม
นักถ่ายภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ผู้มีหลักฐานว่าเคยส่งคณะเข้ามาถ่ายทำในสยาม ๒ ครั้ง
คือ พ.ศ. ๒๔๕๓ และ พ.ศ. ๒๔๖๓ จากข้อเขียนของ ต. ประทีปเสน ครูโรงเรียนสตรีวังหลัง
พบว่าครั้งหนึ่ง เบอร์ตัน โฮล์ม ได้เคยขอใช้สถานที่และครูนักเรียนเป็นตัวแสดงภาพยนตร์
เพื่อสาธิตวัฒนธรรม ขนบประเพณีของชาวสยาม
ซึ่งหอภาพยนตร์ได้เคยพบฟิล์มภาพยนตร์ลักษณะนี้เพียงบางส่วน
ก่อนจะมีผู้เผยแพร่ฉบับเต็มบนเว็บไซต์ยูทูบ ในชื่อ Thailand In Siamese Society
circa 1925 สันนิษฐานว่าเป็นภาพยนตร์ที่เขาและคณะเข้ามาถ่ายในครั้งที่
๒ ในประมาณปี ๒๔๖๓ ซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับที่ ต. ประทีปเสนเขียนเล่าไว้
ภาพยนตร์ใบ้
แบะๆๆ มีสีขาวดำ 2 สี ใช้วิธีใช้คำบรรยายคั่นในแต่ละช่วงที่นำเสนอ
มิได้เจาะจงถ่ายภาพบ้านเมือง
แต่ตั้งใจนำเสนอเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของคนไทยยุคเก่าก่อน การนุ่งโจงกระเบน การกินหมาก
การทักทายด้วยการสวัสดีและไหว้
การประแป้งแต่งตัว ซึ่งก็ได้ใจความพอเหมาะกับเวลาสั้นๆที่นำเสนอ 10
นาทีประมาณนั้น
ก็ต้องขอขอบคุณคำโตๆต่อคุณ
ริชาร์ด เบอร์ตั้น โฮล์ม ที่มาเก็บภาพเหล่านั้นเอาไว้ให้คนไทย(สยาม)รุ่นหลังๆได้ดู ได้เห็นอดีตของตนเองที่มีความงดงาม
ควรสืบสานต่อไปชั่วฟ้าดินสลาย
และที่สำคัญผู้สร้างฯทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายมาเป็นมรดกภาพยนตร์ไทยที่มีค่าสูงสุดเรื่องหนึ่ง
พูดถึงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ไทย
บอกตรงๆเป็นส่วนตัวว่าไม่ค่อยจะเห็นด้วย
เพราะคิดว่า ภาพยนตร์ไทยทุกเรื่อง มีคุณค่าทางด้านมารดก
วัฒนธรรมของไทยเท่าเทียมกัน ทุกเรื่อง(รวมแม้บ้านผีปอบ)
ก็คือมรดกภาพยนตร์ไทยทั้งนั้นใครขึ้นทะเบียนก่อนหลังมันต่างกันตรงไหน
แต่ผู้เกี่ยวข้องอาจมีเหตุผลอะไรที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจก็ว่ากันไปตามใจเขา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น