วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดาบอาญาสิทธิ์ของยามาดะ / Yamada Nagamasa - Oja no ken (1959)


ดาบอาญาสิทธิ์ของยามาดะ / Yamada Nagamasa - Oja no ken (1959)
ผู้กำกับภาพยนตร์... Bin Kado
ดารานำแสดง... Kazuo Hasegawa- Raizô Ichikawa-Atsuko Kindaichi

             ยะมะดะ นะงะมะซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ญี่ปุ่น: 山田長政 Yamada Nagamasa; พ.ศ. 2113 - พ.ศ. 2173) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามารับราชการ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญาเสนาภิมุข     ยะมะดะ นะงะมะซะ เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม โดยเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะทูตจำนวน 60 คน ที่พระเจ้าทรงธรรมทรงส่งไปถึงเมืองเอโดะ(โตเกียวในปัจจุบัน) ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2164 นะงะมะซะ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อย ได้รับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่น และเจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมา เป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในชื่อออกญาเสนาภิมุข (ตำแหน่ง ออกญา เทียบเท่า พระยา) ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยะมะดะ นะงะมะซะถูกล้อมจับ และถูกเนรเทศจากกรุงศรีอยุธยาไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีบุตรชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น กับภรรยาชาวไทย นามว่า โอนิน และได้ส่งบุตรชายและคณะไปเรียกส่วยภาษีจากเมืองปัตตานี แต่ได้รับการต่อต้านจากจากชาวต่างชาติในเมืองปัตตานีเช่น ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ที่ไม่พอใจที่ชาวญี่ปุ่นมีอิทธิพลในแถบนั้น ยะมะดะ นะงะมะซะ ยกกองทัพไปทำศึกกับปัตตานี แต่ได้รับบาดเจ็บถูกฟันที่ขา จึงยกทัพกลับนครศรีธรรมราชขณะที่การรบยังไม่เสร็จสิ้น  ยะมะดะ นะงะมะซะ ถึงแก่กรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2176 หลังจากได้รับพิษจากยารักษาแผล ที่พระเจ้าปราสาททอง ทรงบัญชาให้ออกพระมะริด เจ้าเมืองไชยา นำยาพิษงูผสมยางไม้ มาให้รักษาโดยหลอกว่าเป็นยาหลวงจากราชสำนัก (-จากวิกิพีเดีย)


                ภายหลังเชื่อกันว่ากระดูกของออกญาเสนาภิมุขถูกเก็บไว้ในเจดีย์แห่งหนึ่งใน วัดพระศรีมหาธาตุ พร้อมกับความทรงจำเกี่ยวกับ "ญี่ปุ่นหัวโกน" ในเพลงกล่อมเด็กของชาวนคร


              ภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ อัตประวัติคนสำคัญของประเทศไทยที่มีเชื่อสายญี่ปุ่น ที่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าผู้สร้างจะยกกองมาถ่ายทำในประเทศไทย  ซึ่งทั้งๆที่ยังไม่ชัดเจนในหลายๆจุดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรืออิงมาจากนิยาย





               ชื่อยามาดะน่าจะเป็น ตำนานที่ถูกใช้ เช่น ในสมัยเมจิ มีการกล่าวถึงยามาดะในดินแดนที่อยู่ตอนใต้ ก็เป็นเพราะญี่ปุ่นอยากขยายอิทธิพลลงทางใต้แต่ไกล เลยต้องสร้างตำนานขึ้นมารองรับ ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็ใช้ตำนานนี้เช่นกัน เพราะทำให้ญี่ปุ่นมีกำลังใจว่าทางตอนใต้มีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเคยเป็นใหญ่ ในตำราเรียนระดับมัธยมของญี่ปุ่นก็มีเรื่องเกี่ยวกับ ยามาดะ นางามาสะ ที่ล้วนเป็นตำนานเกินเลยข้อเท็จจริงทั้งสิ้น"



               ตำนานเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัย จนถึงวันนี้ตำนานเรื่องเดียวกัน ถูกใช้เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว ทั้งในอยุธยาและนครศรีธรรมราช รวมถึงถูกใช้ในกลุ่มนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น