วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ช้างไทยอยู่ในสายตา / The Eyes of Thailand (2012)


ช้างไทยอยู่ในสายตา / The Eyes of Thailand (2012)
บทภาพยนตร์...Windy Borman-Tim O'Brien/ดนตรีประกอบ...Steve Horner/ถ่ายภาพ...Windy Borman-Liam Morgan/ลำดับภาพ...Gary Schillinger/ผู้อำนวยการสร้าง...Tim VandeSteeg-Windy Borman/ผู้กำกับภาพยนตร์...Windy Borman
ดารานำแสดง...Lynn Bradach-Sangduen 'Lek' Chailert-Pipope Chokathana

              ผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องการจะช่วยให้ช้างสองเชือกที่เหยียบกับระเบิดขาขาด ได้รอดชีวิต  และกลับมาเดินได้อีกครั้ง แม้จะใช้เวลานาน

  
             นี่เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ตีแผ่ปัญหาช้างที่กลุ่มผู้อนุรักษ์ช้าง (FAE) ที่มาอยู่ในประเทศไทยต้องเผชิญเช่น ช้างเร่ร่อน  การดูแล  การใช้แรงงานช้าง   ช้างบาดเจ็บ  การทำงานของโรงพยาบาลช้างผ่านนักวิชาการต่างๆ   นี่เป็นภาพยนตร์ที่ประทับใจน้ำตาไหลได้โดยไม่รู้ตัว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้จากรางวี่รางวัลที่ได้รับจากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ
            มีการสัมภาษณ์ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ  ท่านผู้ชำนาญการด้านต่างๆเกี่ยวกับช้างในแต่ละช่วง….โดยมีนางเอก แอชลี่ย์ จั๊ด เป็นคนบรรยาย

บน-โมชา(ซ้าย) / โมตาลา(ขวา)
ล่าง-Soraida

สัมภาษณ์และการประชุมแก้ปัญหาช้าง

          “เมื่อเธออายุได้ 8 ปีกว่า  Soraida เห็นช้างถูกรถบรรทุกชนล้มอยู่บนถนนขณะครอบครัวของเธอขับรถผ่านมา   พวกเขายังได้ยินเสียงกระสุนปืนอีกด้วย   Soraida ถามพ่อของเธอว่าเกิดอะไรขึ้น   พ่อบอกว่าไม่ต้องห่วงเพราะลุงช้างจะไปอยู่ในสวรรค์ในขณะนี้     Soraida ออกจะงง  ถามว่า ช้างได้รับบาดเจ็บทำไมพ่อไม่สามารถพาช้างไปโรงพยาบาลได้?   ไม่มีใครสามารถตอบคำถามของเธอได้”       ในปี 1993, Soraida เปิดโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลกในเอเชียดำเนินการโดยกลุ่มเพื่อนของช้างเอเชีย (FAE) ในการรักษาช้างที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานที่ผิดหรือละเลย   หกปีต่อมา Soraida และ FAE ต้องเผชิญความท้าทายที่ยากที่สุดกับการรักษาช้างที่เหยียบกับระเบิด


ช้าง-ใช้งาน  เหยียบกับระเบิด  เข้ารักษาตัว

          พลายโมตาลาตอนนี้ อายุ 50 ปี ช้างชราเหยียบกับระเบิดในปี 1999 ในขณะที่เธอและควาญช้างของเธอ (เจ้าของ) เข้าไปตัดไม้ตามแนวชายแดนพม่า   ขาหน้าของเธอแหลกเป็นริ้ว เป็นเสียงๆและใช้เวลาสามวันจึงจะมาถึงที่โรงพยาบาลช้างของ FAE    ด้วยความช่วยเหลือของนายแพทย์ปรีชา (สัตวแพทย์หัวหน้า FAE) กับ ดร. เทิดชัย (ผู้ชำนาญศัลยกรรมกระดูกมนุษย์) และ Soraida ร่วมกันลงมือรักษา   ใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงช่วยให้โมตาลาเดินได้อีกครั้งบนขาทั้งสี่ข้างของตัวเอง



           แต่น่าเสียดายที่ข่าวการบาดเจ็บของโมตาลาไม่ได้ลดการเกิดอุบัติเหตุกรณีช้างเหยียบกับระเบิดลงได้เลยเพราะในปี 2006   ช้างน้อย  โมชา เหยียบกับระเบิดอีกเชือกเมื่อเธออายุได้ 7 เดือนกว่า  การบาดเจ็บของ  โมชาหายเป็นปกติได้เร็วกว่าโมตาลาและในเดือนมิถุนายน 2008 ดร.เทิดชัย และมูลนิธิขาเทียมช่วย โมชาเดินได้อีกครั้งโดยการสร้างขาเทียมให้ใช้


         เมื่อได้เห็น โมตาลากับโมชาเดินได้ด้วยตัวเอง    Soraida มีความสุขมาก  เธอหวังว่าวันหนึ่ง โมตาลาและโมชา จะสามารถเดินไปด้วยกันบนขาเทียมของพวกเขา     และในทุกวันนี้ โมชา และโมตาลา ใช้ขาเทียมของพวกเขาในการเดินไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ดีแล้ว ภายใต้การดูแลที่กลุ่มเพื่อนของช้างเอเชีย (FAE) ณ โรงพยาบาลช้าง  ในจังหวัดลำปาง, ประเทศ ไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น